วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงานที่ 7 แก้ไขปัญหา Hardware และ Sofeware

การแก้ปัญหา hardwere softwere

Hardware

หัวข้อ     :อินเตอร์เน็ตหลุดบ่อย จะแก้อย่างไร
เนื้อหา     : ปัญหาอาจเกิดจากโมเด็มมีข้อมูลผ่าน เข้ามามากเกินไปครับ ให้คุณลองทำตามดังนี้
ในวินโดวส์ 9x และ Me ให้คุณไปที่ Start > Setting > Control Panel และคลิ๊กที่ Modems ที่แท็บ General ของ Modem เลือกโมเด็มที่คุณใช้ จากนั้นคลิ๊กปุ่ม Properties และเลือกความเร็วในช่องของ Maximum Speed ให้ลดลงกว่าค่าเดิม ถึงแม้ว่าจะทำให้โมเด็มมีความเร็วลดลงก็ตามครับ แต่มันจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ไม่หลุด บ่อยๆได้ จากนั้นให้คลิ๊กที่แท็บ Connections และปุ่ม Port Setting แล้วลดขนาดบัฟเฟอร์ลง เช่นเดียวกัน โดยหากคุณใช้เครื่องระดับ Pentium ขึ้นไป ให้คลิ๊กที่ Use FIFO buffers ไว้ด้วยครับ
สำหรับวินโดวส์ 2000 ให้คุณเลือก Phone and Modem Options จากนั้นก็คลิ๊กแท็บ Modem เลือกโมเด็มและคลิ๊กปุ่ม Properties คุณจะสามารถกำหนดความเร็วของโมเด็มได้จากช่อง Maximum speed ครับแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Change Default Preference เพื่อให้คุณ กำหนดความเร็วได้ตามที่ต้องการ
 
หัวข้อ : การแก้ปัญหาเมื่อติดตั้งโมเด็มเข้าไปแล้ววินโดวส์มองไม่เห็น
  เนื้อหา : อาการดังกล่าวเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งจะขอกล่าวเป็นข้อๆได้ดังนี้ครับ
1.ปัญหาจากโมเด็มไฟล์
   ให้ตรวจสอบไดรเวอร์ของโมเด็มมีปัญหารึเปล่า ซึ่งผมได้นำเสนอเรื่องการตรวจสอบโมเด็มไปแล้วครับ ให้ท่านทำตาม
   ขั้นตอนการตรวจสอบ ถ้าไม่เป็นไปตามนั้น แสดงว่าไฟล์มีปัญหาแล้วครับ ให้ทำการลงไดรเวอร์ใหม่ให้ถูกต้องอีกครั้งครับ
2.ปัญหาที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์ชนกัน
    ถ้าเป็นโมเด็มแบบภายในให้ทำการเปลี่ยนสล็อตที่ใช้เสียบ เป็นสล็อตใหม่ลองดู ถ้ายังไม่หายก็ให้ลองตรวจสอบข้อต่อไป
    ถ้าเป็นโมเด็มแบบภายในก็ให้ทำการเปลี่ยนพอร์ท เช่น จากพอร์ท คอม1 เป็น คอม2 เป็นต้น
     - การเปลี่ยนพอร์ทใน Windows XP
     >> ให้เปิดหน้าต่าง Control Panel ขึ้นมาครับ แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ Phone and Modems

    >> คลิกที่แท็บ Modems จากนั้นคลิกเลือกที่ชื่อโมเด็มที่ใช้ แล้วให้คลิกที่ปุ่ม Properties
    >> จะได้หน้าต่า Properties ของโมเด็มนั้นให้ท่านคลิกที่แท็บ Advance แล้วคลิกปุ่ม Advance port setting
    >> ทำการเปลี่ยนพอร์ทได้ที่หัวข้อ Com port number: ท่านสามารถคลิกเปลี่ยนพอร์ทที่ใช้จาก com 1 เป็น com3
          ได้จากตรงนี้แล้วคลิกที่ OK ผ่านไปเรื่ย จนเสร็จ
     - การเปลี่ยนพอร์ทใน Windows 98 SE,ME
    
>> ในวินโดวส์ 98 และ ME ไม่สามารถทำการเปลี่ยนพอร์ทได้จากหน้าต่างของวินโดวส์เหมือน XPและ2000 แต่สมารถ

          ทำได้โดยการเปลี่ยนสล็อตที่ใช้เสียบโมเด็ม หรือเปลี่ยนช่องเสียบของ com prot













 Sofeware
 


หัวข้อ   :  ติดตั้งไดรฟ์ดีวีดีแล้ว แต่ทำไมดูดีวีดีไม่ได้
เนื้อหา  :  ปัญหาของการใช้เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุครับคุณจะต้องอ่านข้อความที่ปรากฎที่หน้าจอก่อนครับ
               จึงจะรู้สาเหตุที่แ่น่นอนข้อความที่ปรากฏหน้าจอนั้นจะบอกได้ว่าโปรแกรมรายงานว่าอย่างไร เพราะว่า
               จะได้แก้ไขได้ตรงประเด็นครับแต่ปัญหาทั่วไปที่พบคือ โปรแกรมไม่ได้ค้นหาไฟล์ให้อัตโนมัติครับ


วิธีแก้ไขคือ  
ให้คลิ๊กไปที่รูปที่เหมือนซีดีรอมจะปรากฏข้อความให้เลือกไดร์หรือไฟล์ที่ต้องการให้เลือกไปที่
               Openmediafiles  แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการครับ







หัวข้อ   : ใน Power DVD มีลูกเล่นอะไรบ้าง เราสามารถที่จะเล่นลูกเล่นนั้นได้หรือไม่
เนื้อหา  : ลูกเล่นนั้นเรียกกันว่า Eastereggs ซึ่งในแผ่น DVD แต่ละแผ่นจะมีลูกเล่นต่างกันออกไปครับ
              เช่นคุณสามารถที่แทรกเสียงของคุณใน ภาพยนตร์ที่คุณดูได้ และตัวละครจะลิปซิงก์ตามบทสนทนา
             ในเรื่องที่คุณดูได้ครับ ซึ่งในเครื่อง DVD ร้อยละ 80 มีลูกเล่นต่างๆ กันไปครับ คุณสามารถดูรายละเอียด
             ได้จากกล่อง DVD ได้ครับ


ใบงานที่ 8 การแบ่ง Partition และ Format

การแบ่ง Partition และ การ Format



การแบ่งพาร์ติชั่น (Partition)
การแบ่งพาร์ติชั่น หมายถึงการแบ่งพื้นที่ของฮาร์ดดิส (HardDisk) ก็เป็นไดร์ฟ (Drive) ต่าง ๆ ตั้งแต่ C ไปได้เรื่อย ๆ ตามจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ที่มีอยู่เพื่อจัดสรรพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้คุ้มค่าและมากที่สุด
การทำให้ฮาร์ดดิสก์เปลี่ยนสถานะจากของใหม่ๆ ที่เพิ่งผลิตจากโรงงานมาเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการติดตั้ง DOS หรือ Windows9x จะต้องผ่าน 3 ขั้นตอน คือ การทำ Format ทางกายภาพ (Physical Formatting) การสร้างพาร์ติชั่น (Partitioning) และการ Format ทางลอจิคอล (Logical Formatting) เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละขั้นตอนทำงานอย่างไร เราลองมาดูสรุปเกี่ยวกับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ดังนี้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือ อุปกรณ์กลไกที่ประกอบด้วยแผ่นจาน (โลหะกลมขนาดเล็กใช้สำหรับบรรจุแม่เหล็กบนด้านทั้งสอง) ซ้อนๆกัน มีแกนหมุน และมีหัวอ่าน/เขียน ข้อมูล ทำหน้าอ่านและเขียนข้อมูลจากแผ่นจาน หัวอ่านและเขียนจะเป้นตัวทำให้ประจุแม่เหล็กถูกเก็บลงบนจาน (กลายเป็นบิตต่างๆ) เมื่อคุณสั่งให้โปรแกรมอ่านไฟล์จากดิสก์ แผ่นจานจะหมุนไปรอบๆแกน แล้วหัวอ่านจะเลื่อนกลับไปกลับมาจนกระทั่งเจอบิตที่ต้องการ จากนั้นซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์และตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Controller) จะอ่านข้อมูลในบิตนั้นลงไปใน Ram และเมื่อคุณทำการบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์จะส่งชุดของบิตไปยังฮาร์ดดิสก์ และบันทึกด้วยหัวเขียนกลายเป็นประจุแม่เหล็กบนฮาร์ดดิสก์
กลับมาเรื่องคอมพิวเตอร์กันต่อ ฮาร์ดดิสก์ของคุณจะยังใช้การไม่ได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนการ Format และการทำพาร์ติชั่น ขั้นแรก คือการ Format ทางกายภาพ หรือ Low-Level Format ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะทำมาให้แล้ว (สำหรับไดรว์รุ่นเก่าๆหรือไดรว์แบบ SCSI นั้น จะมียูทิลิตี้ใรการทำ Low-Level Format ส่วน IDE จะไม่มียูทิลิตี้ดังกล่าว) การทำ Low-Level Format เป็นการกำหนดโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ให้เป็นแทร็ก (Track) , เซ็กเตอร์ (Sector) , และไซลินเดอร์ (Cylinder) คุณจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้ถ้าคุณเป็นคนชอบติดตั้งฮาร์ดดิสก์
แทร็กมีลักษณะเหมือนร่องบนแผ่นเสียง แต่แทร็กแต่ละวงจรจะแยกจากกัน ไม่ได้เป็นวงต่อๆกันเหมือนอย่างบนแผ่นเสียง แทร็กจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆเรียกว่าเซ็กเตอร์ แต่ละเซ็กเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ละแผ่นจานจะมีแทร็กและเซ็กเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ละไซลินเดอร์ก็คือ กลุ่มแทร็กที่สัมพันธ์กัน ซึ่งก็คือแทร็กที่มีระยะห่างจากแกนหมุนเท่าๆกันนั่นเอง เราลองมานึกถึงภาพไซลินเดอร์กัน สมมุติว่ามีแพนเค้กวางซ้อนกันอยู่ และมีแก้วน้ำจำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เท่ากัน กดแก้วแต่ละใบตรงกลางของกองแพนเค้ก ทำอย่างนี้จนครบทุกแก้ว แพนแค้กจะถูกแบ่งออกเป็นวงๆตลอดทั้งกอง นั่นคือลักษณะของไซลินเดอร์
หลังจากทำการ Format ทางกายภาพแล้ว ฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เรียกว่า "พาร์ติชั่น" แต่ละพาร์ติชั่นคือการแบ่งกลุ่มไซลินเดอร์ที่อยู่ติดๆกัน และในระบบปฏิบัติการบางตัว เช่น Linux คุณสามารถระบุได้ว่าจะให้ไซลินเดอร์ไหนอยู่พาร์ติชั่นใด จุดประสงค์ของการทำพาร์ตอชันก็เพื่อช่วยแบ่งส่วนฮาร์ดดิสก์ และทำให้สามารถ run ระบบปฏิบัติการได้หลายๆระบบบนเครื่องเดียว ซึ่งแต่ละระบบปฏิบัติการจะสามารถทำงานได้ดีที่สุดกับระบบไฟล์ของตน แต่ละพาร์ติชั่นจะมีระบบไฟลืได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และในระบบไฟล์ก็จำเป็นต้องมีหลายพาร์ติชั่นเพื่อลดการสูญเปล่าของเนื้อที่ ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในลำดับต่อไป
แม้ว่าเราจะทำการแบ่งพาร์ติชั่นแล้ว แต่ละฮาร์ดดิสก์ของคุณก็จะยังไม่สามารถใช้งานได้ และจะทำให้แต่ละพาร์ติชั่นสามารถเก็บข้อมูลได้ คุณจะต้องทำการ Format ทางลอจิคอลเสียก่อน ขณะที่การ Format ทางกายภาพ คือการกำหนดโครงสร้างให้กับฮาร์ดดิสก์ของคุณ การ Format ทางลอจิคอลจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบปฏิบัติการ โดยระบบปฏิบัติการจะกำหนดโครงสร้างทางลอจิคอล หรือระบบไฟล์ให้แก่ดิสก์ เมื่อคุณใช้คำสั่ง Format บน DOS หรือเลือกเมนู Format ใน Windows Explorer นั่นหมายถึงคุณกำลังเริ่มต้นทำการ Format ทางลอจิคอลให้กับแผ่นดิกส์หรือฮาร์ดดิสก์ของคุณ
การ Format ทางลอจิคอล ก็คือ การใส่ระบบไฟล์ลงบนดิสก์ ระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวกำหนดว่าระบบไฟล์แบบไหนที่จะใส่ลงบนดิสก์ของคุณ คุณไม่สามารถเลือกเองได้ ระบบไฟล์โดยทั่วๆไปสำหรับเครื่องที่ใช้ x86 ได้แก่
- FAT (File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์มาตราฐานสำหรับ DOS และ Windows และด้วยการที่ FAT เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง จึงสามารถใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่น เช่น Linux , OS/2 และระบบปฏิบัติการอื่นๆอีกด้วย
- VFAT (Virtual File Allocation Table) เป็นระบบไฟล์ FAT เวอร์ชันที่มีลักษณะเป็น Protected Mode ซึ่งจะถูกใช้โดย Windows 9x ระบบไฟล์นี้จะคล้ายๆกับ FAT ต่างกันตรงที่สามารรับชื่อไฟล์ยาวๆได้
- NTFS (NT Files System) เป็นระบบไฟล์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับ WIndows NT โดยเฉพาะ แม้ว่าคุณจะสามารถติดตั้ง Windows NT ในระบบไฟล์ FAT ได้ แต่ว่า NTFS จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในด้านระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงไฟล์มากกว่า และเสียเนื้อที่น้อยกว่า
- HPFS (High Performance File System) เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ OS/2 ซึ่ง HPFS ก็เหมือนกับ NTFS ที่จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี , มีความเชื่อถือได้ของข้อมูล มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงกว่า FAT
- FAT32 (32-bit File Allocation System) ระบบไฟล์แบบนี้จะอยู่ใน Windows95 OSR2 ในเวอร์ชันที่มีการติดตั้งจากผู้ผลิต และ WIndows98 , FAT32 จัดข้อจำกัดของ FAT หลายประการออกไป แต่ระบบไฟล์นี้จะไม่สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นนอกจาก Windows95 OSR2 , Windows98
หลังจากทำการ Format ทางลอจิคอลแล้วพาร์ตอชันจะถูกเรียกว่า Volume และจะดีมากหากคุณทำการตั้งชื่อให้กับพาร์ติชั่นซึ่งสามารถทำได้โดยผ่านทางคำสั่ง LABEL บน DOS หรือใช้ Windows Explorer การตั้งชื่อจะทำให้จำได้ง่ายขึ้นเวลาคุณใช้ซอฟท์แวร์ อย่างเช่น FDISK ซึ่งจะลดความผิดพลาดในการลบไฟล์ผิดพาณืติชัน
จุดประสงค์ในการแบ่งพาร์ติชั่น
1. เพื่อทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ Boot ด้วยตัวเองได้ เรียกว่า การ Set Active Partition
2. เพิ่มจำนวนไดร์ฟให้มากขึ้น เพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นสัดส่วน
3. ลดขนาดของฮาร์ดดิสก์ให้เล็กลง เพื่อนำฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ไปใช้กับเครื่องรุ่นเก่าได้
ความหมายของแฟต (FAT)
Cluster หรือ Sector ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้บันทึกข้อมูลแบ่งได้เป็น2ขนาดคือ
1.ขนาด FAT 16 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 16 bit จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 16 เม็กกะไบต์จนถึง 2.1 กิกะไบต์ และต้องใช้ DOS 6.22 , WIN 95 ในการแบ่งพาร์ติชั่น
2.ขนาด FAT 32 (File Allocation Table) มีความเร็วในการทำงาน 32 bit จะเป็นการแบ่งฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุตั้งแต่ 512 เม็กกะไบต์ขึ้นไปและต้องใช้ WIN 95 OSR 2 , WIN 98 ในการแบ่งพาร์ติชั่น
ตารางเปรียบเทียบขนาดพาร์ติชั่น
ขนาดฮาร์ดดิสก์ FAT 16 FAT 32
ขนาด KB/ Cluster ขนาด KB/ Cluster
16 - 127 MB 2 มองไม่เห็น
128 - 225 MB 4 มองไม่เห็น
226 - 511 MB 8 มองไม่เห็น
512 - 1,023 MB 16 4
1,024 - 2,048 MB 32 4
2,049 MB - 8 GB มองไม่เห็น 4
8 - 16 GB มองไม่เห็น 8

ส่วนของพาร์ติชั่นที่จะต้องสร้าง
1. Primary Partition
2. Extend Partition
3. Logical Partition
Primary Partition คือไดร์ฟแรกที่สร้างขึ้นมาสำหรับ Boot เครื่องและทำงานหลัก
Extend Partition คือส่วนขยาย หมายถึงเมื่อสร้าง Primary แล้ว ก็ให้สร้าง Extend เป็นพื้นที่เตรียมแบ่งเป็นไดร์ฟย่อย
Logical Partition คือส่วนที่แบ่งจาก Extend สามารถแบ่งได้ D - Z แล้วแต่ความต้องการ
ตัวอย่างเช่น
100% = 100 MB
20% เป็น Primary
80% เป็น Extend
C
Primary
20 MB.
Extend
80 MB.
Logical
D 20 MB.
E 20 MB.
F 20 MB.
G 20 MB.

หลังจากนั้นจึงเอา 80% มาแบ่งเป็น Logical โดยแบ่งได้ตั้งแต่ไดร์ฟละ1 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปแต่ถ้าจะสร้างเพียง 2 ไดร์ฟคือไดร์ฟ C และไดร์ฟ D ส่วนที่เป็น Extend ทั้งหมด ก็จะถูกเลือกเป็น Logical คือไดร์ฟ D
อนึ่งถ้าจะสร้างเพียงไดร์ฟเดียวคือไดร์ฟ C ก็ไม่ต้องแบ่งอะไรทั้งสิ้น ส่วนที่เป็น Extend และ Logical ก็ไม่ต้องสร้างเพียงเลือกการสร้างเป็น Primary ทั้งหมดในการสร้างครั้งแรก แล้วก็ Set Active พาร์ติชั่นเท่านั้น ก็ออกไป Format แล้วลงโปรแกรมได้เลย
รูปแบบการแบ่ง
หลังจากที่ใช้คำสั่ง FDISKแล้ว จะมีรายการให้เลือก 4 รายการคือ
1. Create Partition การสร้าง Partition
2. Active Partition ทำให้ฮาร์ดดิสก์ Boot ด้วยตัวเองได้)
3. Delete Partition การลบ Partition
4. Display Partition การตรวจสอบจำนวนไดร์ฟที่สร้างแล้ว
หมายเหตุ
ในการต่อฮาร์ดดิสก์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไปเมื่อใช้คำสั่ง FDISK จะมีรายการที่ 5 เพิ่มมาอีก โดยรายการที่ 5 นี้ให้ทำการเลือกการแบ่งว่าจะแบ่งพาร์ติชั่นของฮาร์ดดิสก์ตัวไหน
โปรแกรมที่ใช้แบ่งพาร์ติชั่น
1. โปรแกรม FDISK ซึ่งอยู่ในแผ่นที่ 1 ของ DOS 6.22 , แผ่นSTARTUP 95 และ STARTUP 98
2. โปรแกรม Partition Magic ที่ติดตั้งบนวินโดวส์ใช้แบ่งบนวินโดวส์และยังสามารถทำใส่ แผ่น Diskette นำมาใช้บน DOS ได้ด้วย และที่พิเศษคือแบ่งแล้วข้อมูลไม่เสียหาย
3. โปรแกรม MAXTOR ซึ่งติดมากับฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ MAXTOR ก็สามารถแบ่งพาร์ติชั่นได้ แต่ MAXTOR จะใช้ได้กับฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อบางขนาดเท่านั้น
ขั้นตอนการสร้างพาร์ติชั่น
1. ให้ใส่แผ่นดอสในไดร์ฟ A แล้ว Boot เครื่องจะพบเครื่องหมายA:\>
2. ให้พิมพ์คำสั่ง FDISK แล้วกด Enter
ตัวอย่าง A:\>FDISK
จะพบหน้าต่างซึ่งเป็นรายการหลักของโปรแกรม FDISK ดังนี้
1. Create Primary Partition การสร้างไดร์ฟที่จะใช้เป็นงานหลักในการ Boot เครื่อง
2. Set Active Partition การกำหนดให้ไดร์ฟที่สร้างพาร์ติชั่นแล้วสามารถ Boot ได้
3. Delete Partition การลบพาร์ติชั่นที่ไม่ต้องการ
4. Display Partition การตรวจสอบพาร์ติชั่นที่สร้างแล้วว่าถูกต้องหรือไม่
ให้เลือกหัวข้อการสร้างคือหมายเลข 1 แล้วกด Enter หลังจากนั้นจะพบรายการย่อยของหัวข้อที่ 1 อีกข้อดังนี้
1. Create Primary Partition การสร้างไดร์ฟ C เพื่อทำงานหลัก
2. Create Extend Partition การกำหนดเนื้อที่ของดิสก์ที่เหลือจากการสร้างไดร์ฟ C แล้ว
3. Create Logical Partition การนำส่วนที่เหลือดังกล่าวมาแบ่งเป็นไดร์ฟย่อย
ให้เลือกข้อที่ 1 คือการสร้าง Primary ก่อน แล้วกด Enter
หลังจากนั้นเครื่องจะถามว่า จะเลือกทั้งหมดฮาร์ดดิสก์เป็นพาร์ติชั่นเดียวหรือไม่ (Y/N) ถ้ากด Y ก็หมายถึงจะเอาตามนั้นแล้วเครื่องจะจัดการสร้างให้ แต่ถ้ากด N หมายถึง เราจะแบ่งเอง ในที่นี้ก็ให้กด N แล้วกด Enter เพราะเราจะแบ่งเอง
ข้อสังเกต
ถ้าใช้แผ่นSTARTUP 98 Boot เครื่อง แล้วพิมพ์คำสั่ง FDISK จะปรากฏ Y 2 ครั้งคือ
Y ครั้งแรก จะเป็นการถามว่าจะใช้เนื้อฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่สุดหรือไม่ ให้กด Y แล้วกด Enter

Y ครั้งที่ 2 จะถามว่าจะใช้เนื้อที่ทั้งหมดเป็นไดร์ฟ C หรือไม่ ให้กด N แล้วกด Enter
หลังจากนั้นจะปรากฏหมายเลขบอกจำนวนเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์และเปอร์เซ็นต์ 100% ถ้าประสงค์ทำเป็นไดร์ฟ C เพียงไดร์ฟเดียวก็กด Enter ไปเลย แล้วกลับไปรายการหลัก Set Active Partition ออกจากโปรแกรม FDISK Format ฮาร์ดดิสก์ก็ลงโปรแกรมได้เลย
แต่ในกรณีที่จะแบ่งเป็นไดร์ฟอื่นอีกก็ให้พิมพ์ระบุตัวเลขที่จะทำเป็นไดร์ฟ C ในช่องเลขบอกจำนวนจะพิมพ์เป็นเปอร์เซ็นต์หรือจะพิมพ์เป็นจำนวนเม็กกะไบต์ก็ได้ถ้าเป็นจำนวนเม็กกะไบต์ก็ไม่ต้องพิมพ์ % ในที่นี้สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ 520 MB จะเป็นไดร์ฟ C เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้พิมพ์ 50% ในช่องจำนวนเลขของฮาร์ดดิสก์ดังนี้ (520) (50%) โดยพิมพ์ทับเลข 520 เลยแล้วกด Enter หลังจากนั้นจะได้ไดร์ฟ C มา ให้กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปรายการหลัก

1. Create Primary Partition
2. Set Active Partition
3. Delete Partition
4. Display Partition
ต่อไปให้กดเลข 1 แล้วกด Enter เพื่อเลือกรายการสร้างอีกครั้งแล้วจะปรากฏรายการย่อยของหัวข้อการสร้างดังนี้
1. Create Primary Partition
2. Create Extend Partition
3. Create Logical Partition
ให้กดเลข 2 แล้ว Enter เพื่อเลือกรายการสร้าง Extend หลังจากนั้นจะปรากฏจำนวนของ Extend ทั้งหมด 50% คือ ส่วนที่เหลือจากการสร้าง Primary นั้นเอง ให้เลือกทั้งหมด โดยปุ่ม Enter เลย ก็เสร็จการสร้าง Extend
ต่อไปเตรียมการสร้าง Logical โดยกดปุ่ม ESC 1 ครั้งหลังจากนั้นจะปรากฏข้อความว่า No Logical Drive Partition หมายถึงว่าขณะนี้ยังไม่มีไดร์ฟอื่นนอกจาก C จะสร้างไดร์ฟอื่นอีกหรือไม่ ถ้าจะทำทั้งหมดเป็นไดร์ฟ D ก็กด Enter ไปเลย ส่วนที่เหลือทั้งหมดก็จะเป็นไดร์ฟ D แต่ในที่นี้ให้ฝึกแบ่งหลาย ๆ ไดร์ฟให้พิมพ์จำนวนเลขที่จะสร้างเป็น Logical คือ D , E , F , G แล้วแต่ความต้องการ โดยจะพิมพ์เป็นจำนวนเมกกะไบต์ หรือ % ก็ได้ที่เหลือสุดท้ายถ้าจะพอแล้วก็ให้กด Enter เลยเพียงเท่านี้เราก็จะได้ไดร์ฟมาเป็นจำนวนที่เราต้องการ
เมื่อเสร็จสิ้นการแบ่งไดร์ฟย่อยแล้ว ให้กดปุ่ม ESC 2 ครั้ง เพื่อกลับไปรายการหลักดังนี้
1. Create Primary Partition
2. Set Active Partition
3. Delete Partition
4. Display Partition
ต่อไปให้ทำการเซ็ต Active Partition เพื่อกำหนดให้ไดร์ฟที่จะทำงานเป็นหลักโดยเลือกหัวข้อที่ 2 แล้วกด Enter หลังจากนั้นเครื่องจะถามว่าจะเอาไดร์ฟใดเป็นไดร์ฟทำงานหลัก ให้พิมพ์เลข 1 ในวงเล็บ (1) แล้วกด Enter หมายถึงไดร์ฟ C นั้นเอง หลังจากนั้นจะมีอักษร A ปรากฏใต้คำว่า STATUS หมายถึงการระบุให้ไดร์ฟทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้กดปุ่ม ECS 3 ครั้งออกจากโปรแกรม FDISK ไป Format ลงในโปรแกรมได้เลย
ขั้นตอนการลบ Partition
ถ้ามีข้อมูลสำคัญให้ Copy ข้อมูลไว้ก่อน เพราะการลบพาร์ติชั่นข้อมูลจะถูกลบทั้งหมดหลังจากนั้นจึงทำการลบตามขั้นตอนนี้
1. Create Primary Partition
2. Set Active Partition
3. Delete Partition
4. Display Partition
เมื่ออยู่ที่รายการหลักให้เลือกหัวข้อที่ 3 แล้วกด Enter หลังจากนั้นจะปรากฏหัวข้อย่อยของข้อที่ 3 ดังนี้อีก 4 ข้อดังนี้
1. Delete Primary
2. Delete Extend
3. Delete Logical
4. Delete Non DOS
ให้เลือกเลข 3 แล้วกด Enter คือลบ Logical ก่อนหลังจากนั้นจะปรากฏวงเล็บพร้อมทั้งแสง Cursor กระพริบอยู่ให้พิมพ์ชื่อไดร์ฟที่จะลบในช่องวงเล็บเช่น (D) แล้ว Enter เครื่องจะถามว่ามีชื่อไดร์ฟหรือไม่ถ้ามีให้พิมพ์ชื่อไดร์ฟถ้าไม่มีให้กด Enter เลย แล้วกด Y กด Enter ลบไปเรื่อย ๆ จนหมดทุกไดร์ฟ
หลังจากนั้นกด ESC กลับมาที่รายการหลักอีกครั้งดังนี้
1. Create Primary Partition
2. Set Active Partition
3. Delete Partition
4. Display Partition
ให้เลือกหัวข้อที่ 3 แล้วกด Enter หลังจากนั้นจะปรากฏหัวข้อย่อยของข้อที่ 3 ดังนี้อีก 4 ข้ออีกครั้ง
1. Delete Primary
2. Delete Extend
3. Delete Logical
4. Delete Non DOS
ให้เลือกเลข 2 แล้วกด Enter คือลบ Extend หลังจากนั้นจะปรากฏวงเล็บพร้อมทั้งแสง Cursor กระพริบอยู่ ให้กด Y แล้ว Enter
หลังจากนั้นกด ESC กลับมาที่รายการหลักอีกครั้งดังนี้
1. Create Primary Partition
2. Set Active Partition
3. Delete Partition
4. Display Partition
ให้เลือกหัวข้อที่ 3 แล้วกด Enter หลังจากนั้นจะปรากฏหัวข้อย่อยของข้อที่ 3 ดังนี้อีก 4 ข้ออีกครั้ง
1. Delete Primary
2. Delete Extend
3. Delete Logical
4. Delete Non DOS
ให้เลือกเลข 1 แล้วกด Enter คือลบ Primary หลังจากนั้นจะปรากฏวงเล็บพร้อมทั้งแสง Cursor กระพริบอยู่ ให้กด Y แล้ว Enter
ลำดับการลบ
1. ให้ทำการลบ Logical ให้หมดก่อน โดยลบทีละไดร์ฟ
2. ให้ลบ Extend
3. ให้ลบ Primaryเป็นลำดับสุดท้าย
หมายเหตุ
ข้อที่ 4 มีไว้สำหรับลบไดร์ฟที่เครื่องไม่รู้จักคือ NON DOS ถ้าฮาร์ดดิสก์เป็น NON DOS จะไม่สามารถทำอะไรกับฮาร์ดดิสก์ได้เลย จะแบ่งพาร์ติชั่น จะ Format จะลบพาร์ติชั่นจะทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น จะต้องลบ NON DOS ออกก่อนจึงทำอย่างอื่นต่อไปได้และการที่จะรู้ฮาร์ดดิสก์เป็น NON DOS เมื่อเข้ารายการหลักของ FDISK ให้กดเลข 4 แล้วกด Enter ให้สังเกตใต้คำว่า TYPE จะมีคำว่า NON DOS ปรากฏอยู่
การใช้แผ่นสร้าง Partition
ถ้าใช้แผ่น DOS 6.22 สร้าง จะเป็น FAT16
ถ้าใช้แผ่น STARTUP 95 สร้าง จะเป็น FAT16
ถ้าใช้แผ่น STARTUP 98 สร้าง จะเป็น FAT32
หมายเหตุ
ถ้าใช้โปรแกรม Partition Magic ในการแบ่ง จะสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บข้อมูลเดิมไว้ หรือไม่เก็บและสามารถเลือก FAT ได้ว่า จะใช้ FAT16 หรือ FAT32 สามารถใช้ Mouseได้ในขณะแบ่งและจะไม่มีปัญหากับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่แต่โปรแกรมนอกจากนี้ เมื่อแบ่งแล้วข้อมูลจะสูญหายหมดและมักจะติดปัญหากับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่เช่น เห็นจำนวนฮาร์ดดิสก์ไม่ครบบ้าง เป็นต้น
ข้อควรระวัง
การแบ่งพาร์ติชั่นเกิน 6 ครั้งและ Format ทุกครั้ง ฮาร์ดดิสก์อาจจะเสียหายเพราะจะ เป็นรอยที่เคยแบ่ง แต่ถ้าแบ่งแล้วไม่ Format การเสี่ยงก็น้อยแต่ไม่จำเป็นไม่ควรแบ่งพาร์ติชั่นบ่อยแบ่งเพียงครั้งแรกที่ ประกอบเครื่องเสร็จและลงโปรแกรมก็พอหลังจากนั้นถ้าเครื่องมีปัญหาจะลง โปรแกรมใหม่เพียง Format ฮาร์ดดิสก์อย่างเดียวก็พอ



จัดทำโดย นาย นครินทร์  มุกดาดวง ม.5/3 เลขที่ 5

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 5 CD ROM









ความเป็นมาของ ซีดีรอม
ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory )มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 เมื่อบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และโซนี่ (Sony)ได้ร่วมมือกันที่จะผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง (CD) ซึ่งในขณะนั้นฟิลิปป์ได้พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกวางจำหน่ายแล้ว และขณะเดียวกันโซนี่ก็ได้ทำการวิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิทัลมานานนับสิบปี ในตอนแรกต่างฝ่ายต่างจะกำหนดมาตรฐานคอมแพคดิสก์ที่จะออกวางจำหน่าย แต่ท้ายที่สุดทั้งสองบริษัทก็ได้ตกลงที่จะกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยในปี 1982 ทั้งสองบริษัทได้กำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึก เสียง วิธีการอ่านซีดีและขนาดของซีดี โดยกำหนดเป็น 5 นิ้ว ซึ่งกล่าวกันว่าการที่กำหนดขนาดของแผ่นดิสก์เป็น 5 นิ้วนั้นก็เพราะว่าแผ่นดิสก์ขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ทั้งสองบริษัทยังคงร่วมมือกันตลอดทศวรรษ 1970 ได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดี กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาวีดีรอมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่ใช้ใน การอ่านแผ่นซีดีรอม ก็คือ เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM DRIVES) ซึ่งในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี ในอดีตนั้นซีดีรอมใช้เพื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการบันทึกไว้ในแผ่นฟลอปปี้ดิสก์จะต้องใช้ฟลอปปี้ดิสก์เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมในการเป็นสื่อบันทึกข้อมูล ปัจจุบันเครื่องอ่านซีดีรอมได้เปลี่ยนแปลงจุดประสงค์ในการใช้จากเดิมเพื่อ ใช้งานบันทึกข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ กลายมาเป็นเพื่อความบันเทิงในการดูหนังฟังเพลง เครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาถูกลงอย่างมาก มันจึงกลายเป็นอุปกรณ์และกลายเป็นสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการ บันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่างๆเพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายให้กับลูกค้าของตนเนื่องจากความจุ ที่มากกว่าและราคาที่ถูกกว่า
กลับ ด้านบน
การทำงานของเครื่องซี ดีรอม
เครื่อง ซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโคร โปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยก ลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็น สัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่อง คอมพิวเตอร์
กลับ ด้านบน
การเลือกซื้อเครื่อง อ่านซีดีรอม
ต้องพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคของเครื่อง ซีดีรอม โดยพิจารณาในด้านต่อไปนี้
ข้อมูลทางเทคนิคของ เครื่องอ่านซีดีรอมที่ควรพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดีรอม
เครื่อง มือทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกเกี่ยวกับความสามารถของเครื่องซีดีรอม ซึ่งเปรียบกับความสามารถของเครื่องอ่านซีดีรอม โดยทั่วไปแล้วข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกให้ทราบลักษณะและ ประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิคอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ อัตราการถ่ายทอดข้อมูล เวลาในการเข้าถึงข้อมูล บัฟเฟอร์(ถ้ามี) และชนิดของอินเตอร์เฟชที่ใช้
อัตราการถ่ายทอดข้อมูล(Data Transfer Rate)
เป็นสิ่งที่บอกถึงจำนวนข้อมูลที่เครื่องอ่านซีดีรอมอ่าน ข้อมูลในแผ่นซีดีรอมและส่งข้อมูลจุดนั้นให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ใช้วัดอัตราถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นมาตรฐานคือกิโลไบต์ต่อวินาที(kb/s) อัตราการถ่ายทอดข้อมูลเป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดที่เครื่องทำงานได้ เครื่องที่มีตัวเลขอัตราการถ่ายทอดข้อมูลมากยิ่งดี
เวลาในการ เข้าถึงข้อมูล (Access Time)
เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องซีดีรอม ก็มีการวัดที่เหมือนกับการวัดเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ คำจำกัดความอีกคำหนึ่งของเวลาในการเข้าถึงข้อมูลคือ เวลาระหว่างที่เวลาเครื่องได้รับคำสั่งในการอ่านข้อมูลและเวลาที่เครื่อง เริ่มอ่านข้อมูลที่ต้องการ เวลาที่ใช้จะถูกบันทึกในหน่วยของมิลลิวินาที (ms) เวลาที่เครื่องใช้สำหรับเริ่มอ่านข้อมูลจากส่วนต่างๆของดิสก์เรียกว่า อัตราการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ย (Average Access Rate) เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ยของซีดีรอมนั้นอยู่ในช่วง 500 ถึง 200 มิลลิวินาที ซึ่งช้ากว่าของฮาร์ดดิสก์(ฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20 มิลลิวินาที)
บัฟเฟอร์(Buffer)
เครื่องซีดีรอมบาง เครื่องจะมีบัฟเฟอร์อยู่ภายในเครื่อง บัฟเฟอร์เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องวีดีรอม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลให้มีจำนวนมากพอก่อนที่จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามปกติเครื่องซีดีรอมมีบัฟเฟอร์ขนาด 64 กิโลไบต์
ข้อดีของการมีบัฟเฟอร์คือ
1. ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับข้อมูลในอัตราคงที่
2. ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
อินเตอร์เฟช(Interface)
อินเตอร์ เฟชสำหรับเครื่องซีดีรอมใช้สำหรับการต่อสายสัญญาณระหว่างเครื่องซีดีรอมกับ คอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญสำหรับการถ่ายทอดข้อมูลจากเครื่องซีดีรอมไปยังคอมพิวเตอร์
- อินเตอร์เฟช SCSI (Small Computer System Interface)แบบมาตรฐาน หมายถึงการ์ดที่สามารถใช้กำลังมาตรฐานชุดเดียวกันกับอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ หลายชนิด การ์ดอะแด๊ปเตอร์เหล่านี้ทำให้ใช้อุปกรณ์ต่อเพิ่มได้หลายตัวโดยใช้การ์ด เพียงอันเดียว ทำให้ลดความยุ่งยากจากการเพิ่มการ์ดในกรณีที่มีอุปกรณ์ต่อเพิ่มใหม่ ด้วยข้อดีนี้ทำให้การ์ดแบบ SCSI เป็นที่นิยมในการต่ออุปกรณ์ต่อเพิ่ม เช่นการต่อเครื่องซีดีรอมกับคอมพิวเตอร์
- SCSI-2 และ ASPI SCSI แบบมาตรฐานจะมี่สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ต่อพ่วงตัวอื่นที่มีจำหน่ายทีหลังได้ จึงต้องมีการปรับปรุงการ์ด SCSI-2 ซึ่งมีสิ่งปรับปรุงเพิ่มคือ
SCSI Fast มีความเร็วเป็นพิเศษ
SCSI Wide ขยายขนาดของบัสส่งข้อมูล ทำให้การถ่ายทอดข้อมูลผ่านการ์ดได้มากขึ้น
Scatter/Gather ทำให้การอ่านและการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ส่วน ASPI(Advance SCSI Programming Interface) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาไดร์ฟเวอร์สำหรับฮาร์ดแวร์ตามมาตรฐาน SCI ทำได้ง่ายขึ้นนอกจากข้อมูลทางเทคนิคแล้วการตัดสินใจซื้อเครื่องอ่านซีดีรอม ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วยดังนี้
ปัจจัยที่ควรพิจารณานอกเหนือ จากปัจจัยทางเทคนิคในการเลือกซื้อเครื่องซีดีรอม
ตัว เครื่อง
ฝุ่นจัดเป็นศรัตตรูร้ายสำหรับเครื่องซีดีรอม ผู้ผลิตบางรายป้องกันด้วยการแยกส่วนที่เป็นเลนส์ออกจากส่วนที่ใช้ใส่ซีดี บางรายอาจมีช่องกักฝุ่นสองช่องทั้งทางเข้าและทางออกอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วน ช่วยยืดอายุของเครื่องได้
แคดดี้เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ ซีดีรอมการใช้แคดดี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
- เครื่องที่ไม่มีแคดดี้ จะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการใส่ซีดีในแคดดี้ก่อนใส่ซีดีเข้าเครื่อง แต่มีข้อควรระวังอยู่สองประการคือ ต้องแน่ใจว่าส่วนที่เป็นลิ้นชักของเครื่องที่ใช้สำหรับใส่ซีดีนั้นสะอาดไม่ มีฝุ่น และถ้าหากกลไกของลิ้นชักเสียต้องส่งเครื่องซีดีรอมเข้าซ่อมทั้งเครื่อง
- เครื่องที่มีแคดดี้ ข้อเสียคือจะทำให้เสียเวลาในการนำซีดีเข้าออก ข้อดีคือทำความสะอาดได้ง่ายและเมื่อแคดดี้ชำรุดก็เปลี่ยนใหม่ได้
ระบบ ทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ
ปัจจุบันเครื่องซีดีรอมบางรุ่นมี การติดตั้งกลไกทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ ถ้าไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดควรพิจารณาเครื่องที่มีระบบทำความสะอาดเลนส์โดย อัตโนมัติ
เครื่องแบบติดตั้งภายในกับเครื่องต่อพ่วง
หาก มีพื้นที่ทำงานบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นก็ควรซื้อเครื่องซีดีรอม แบบต่อพ่วงเพราะจะสามารถย้ายได้และสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง แต่หากไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ภายในที่ใช้อะแด๊ปเตอร์ อยู่แล้วก็ควรใช้แบบติดตั้งในเครื่อง

กลับ ด้านบน
แผ่นซีดีรอม
แผ่นซีดีรอมส่วน ใหญ่ใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียวเท่านั้นดังที่เรียกว่า Single side media และตัวเครื่องซีดีรอมเองก็มีเพียงหัวอ่านเพียงด้านเดียวเช่นกัน CD-ROM มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลได้มาก ซึ่งแผ่น CD-ROM จะมี 2 ขนาดความจุข้อมูล คือ 650 MB และ700 MB แผ่น CD เป็นแผ่นพลาสติกเคลือบ ลักษณะวงกลม มีช่องตรงกลาง ขนาด 4.8 นิ้ว (12 cm.) หนา 1.2 มิลลิเมตร ซึ่งในแผ่นซีดีรอมจะมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้างของแผ่นซีดีรอม
1. ชั้นพลาสติค (Polycarbonate Plastic) เป็นชั้นที่มีความหนาและน้ำหนักมากที่สุดทำด้วยสารจำพวกโพลีคาร์บอเนต หน้าที่ของชั้นนี้คือป้องกันความเสียกายของข้อมูลที่อยู่ในชั้นถัดไปเป็น ชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ในการโฟกัสหาข้อมูลของแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจาก เครื่องอ่านซีดี
2. ชั้นข้อมูล เป็นสารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ โดยโครงสร้างแล้วจะแบ่งเป็นแทร็กที่เรียงต่อกันเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย
3. ชั้นสะท้อนแสงกลับ เป็นชั้นทำด้วยโลหะ เพื่อให้แสงเลเซอร์ที่ยิงเข้ามาอ่านข้อมูลสะท้อนกลับไปแปลงเป็นรูปแบบข้อมูล ที่เครื่องเล่นได้ เหตุที่เรามองเห็นแผ่นซีดีเป็นมันเงาก็เนื่องมาจากชั้นสะท้อนแสงกลับของแผ่น ซีดีนี้เองบนชั้นนี้จะมีสารอะครีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิว ส่วนป้องกัน เป็นส่วนที่เคลือบไว้บางๆบนชั้นสะท้อนแสงกลับเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสะท้อน แสงกลับได้รับความเสียหาย ซึ่งจะมีผลกระทบในความสามารถของการอ่านข้อมูลบนแผ่นโดยตรง
4. ชั้นสลากหรือสติ๊กเกอร์(Label) เป็นชั้นที่อยู่ด้านบนสุด นอกจากใช้เป็นฉลากบ่งบอกรายละเอียดในแผ่นซีดีแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสียหายให้ชั้นสะท้อนแสงกลับอีกด้วย

กลับ ด้านบน
ประเภทของซีดีรอม
เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะ เห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดี รอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปกสีเหลือง เป็นต้น
ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
- Yellow CD หรือ DATA Storage CD
- Red CD / Audio CD
- CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
- Mixed Mode CD
Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD หรือ CD-ROM
เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับ เก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ. โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์ ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ
การใช้งาน DATA-CD
- ใช้เก็บข้อมูล
- สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ
- สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์
- สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน

Red CD / AudiO CD
รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี Track ได้ 99 Track

CD-ROM XA หรือ Multi-session CD
Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกันหนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
ปกติซีดีรอม 1 แผ่น มีได้ 48 session อย่างไรก็ตาม Multi - Session CD ใช้งานได้ก็ต่อเมื่อใช้กับไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi - Session ได้
ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session
- การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
- สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล

ซีดีรอมที่ออกแบบผสมกันระหว่าง Data และ Audio
ปกติ CD-DA จะถูกบันทึกข้อมูลที่เป็นส่วนของ audio และใช้งานกับเครื่องเสียงภายในบ้านหรือเครื่องเสียงติดรถยนต์รวมทั้ง คอมพิวเตอร์ได้ แผ่นซีดีแบบ Mixed Mode นั้นถูกผลิตให้มีทั้ง DATA และ Audio ในแผ่นเดียวกัน เมื่อต้องการรวมเอาข้อความ ภาพกราฟิกและเสียงเข้าไปในซีดีรอม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกในส่วนของ Data Track และข้อมูล Audio จะถูกบันทึกไว้ในส่วนของ CD-DA ซึ่งในกรณีนี้ทำโดย 2 วิธี
- Mixed Mode
- CD Extra
Mixed Mode
Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่าปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติเครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภท นี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ CD Extra
CD Extra
CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดี รอมปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA
เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมาเล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิตภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session
กลับ ด้านบน
การเก็บรักษาแผ่นซีดี
- ควรจับที่บริเวณด้านข้างของแผ่นซึ่งอาจจะเป็นสันด้านนอกทั้งหมดหรือสันด้าน นอกด้านหนึ่งกับขอบวงในก็ได้ ไม่ควรสัมผัสกับแผ่นซีดีโดยตรงโดยเฉพาะด้านที่ใช้เขียนข้อมูล
- ควรจัดเก็บในกล่องหรือในซองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันด้านที่เขียนข้อมูลของแผ่นเป็นรอยอันจะส่งผลให้เครื่องอ่านไม่ สามารถอ่านข้อมูลบนแผ่นได้
- การเขียนฉลากบนแผ่นควรใช้ปากกาเมจิกเท่านั้น ไม่ควรใช้ปากกาลูกลื่นหรือวัตถุที่มีความคม เนื่องจากความคมอาจทำให้สารที่เคลือบอยู่ด้านบนของแผ่นหลุดร่อนออกมา
- ไม่ควรนำสติ๊กเกอร์หรือสก๊อตเทปมาติดเป็นฉลากบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการหมุนแผ่นซีดีจากน้ำหนักที่ไม่สมดุล นอกจากนี้หากต้องการแกะออกก็ทำให้พื้นผิวของชั้นต่างๆด่านบนหลุดออกมาได้
- หลีกเลี่ยงการวางทับแผ่นซีดีด้วยวัตถุที่มีน้ำหนักมากๆ
- ป้องกันไม่ให้แผ่นซีดีสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานๆ หรือเก็บไว้ในบริเวณที่มีความร้อนสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส
- หลีกเลี่ยงการล้างแผ่นซีดีด้วยน้ำหรือน้ำยา หากสุดวิสัยจริงๆให้รีบเช็ดด้วยผ้าเนื้อละเอียดแล้วปล่อยให้แห้ง
กลับ ด้านบน
วิธีเลือกซื้อแผ่นซีดี เปล่า
ควร พิจารณารายละเอียดดังนี้
- ความเร็ว
- ขนาดความจุ ควรเลือกที่มีความจุสูงสุดเท่าที่จะทำได้
- การเคลือบสารป้องกันแผ่น ควรพิจารณาการเคลือบสาร หากการเคลือบสารป้องกันไม่ดีพออาจส่งผลกระทบกับชั้นที่ทำหน้าที่สะท้อนแสง เลเซอร์ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้
- สีของแผ่นซีดี แผ่นซีดีที่วางขายจะมีเนื้อสีที่แตกต่างกันแต่ตามมาตรฐานแล้ว จะมีเพียงสีน้ำเงิน ทอง เขียวเท่านั้นควรหลีกเลี่ยงแผ่นซีดีเปล่าสีอื่น

กลับ ด้านบน
ฟังเพลงได้ด้วย Audio Output and Controls
ไดรฟ์ ซีดีรอมส่วนมาก จะมีคุณสมบัติพิเศษ ที่ช่วยให้สามารถเล่นและฟังแผ่นซีดีเพลงได้ ซึ่งหน้าตาและปุ่มกดต่างๆในส่วนด้านหน้าของไดรฟ์ซีดีรอมนั้น จะคล้ายคลึงกันดังนี้
1. Stereo Headphone Output เป็นช่องเสียบหูฟังช่องเล็กๆ ที่สามารถ นำหูฟังหรือ Headphones เสียบเข้าไป และฟังเพลงจากแผ่นซีดีเพลงได้ส่วนใหญ่จะมีมาให้ทุกเครื่อง
2. Volume Control Dial ไดรฟ์ส่วนมากจะมีปุ่มปรับระดับเสียงเพื่อให้เลือกปรับระดับความดัง ได้ตามความพอใจ
3. Start and Stop Buttons ไดรฟ์ส่วนใหญ่ จะมีปุ่มที่ใช้ควบคุมการเริ่มต้น และการหยุดเล่นแผ่นซีดี
4. Next Track and Previous Track Buttons ปุ่มควบคุมตัวนี้ จะช่วยให้การทำงานโดยเฉพาะ การเล่นซีดีเพลงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โชคไม่ดีที่ไดรฟ์ส่วนใหญ่ จะตัดปุ่มควบคุมนี้ ซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นถึง 79 เซนต์ต่อตัวออกไป
ซอฟต์แวร์ที่ใช้เล่นซีดีเพลง นั้นส่วนใหญ่จะแจกฟรี โดยในวินโดวส์ก็มีแถมมาให้พร้อมแล้วในส่วนของ CD Player ซอฟต์แวร์เหล่านี้ จะเอื้ออำนวยความสะดวกใน การเล่นแผ่นซีดีอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแทร็ค การดูเวลาที่เหลือบนแผ่นดิสก์ หรือแม้แต่การกำหนดให้แสดงชื่อของแผ่นซีดี และแทร็ค ถ้าหากติดตั้งโปรแกรมซอฟแวร์เหล่านี้ไว้มันจะเข้าไปควบคุมการทำงาน ทั้งหมดไม่ว่าจะตั้งค่าการควบคุมไว้ที่ตัวไดรฟ์ซีดีรอมหรือไม่ก็ตาม ย่างไรก็ตามประโยชน์ของปุ่มควบคุมด้านหน้า ดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นมากกว่าเท่านั้นเอง ทำให้บางครั้งจะเห็นว่าบางไดรฟ์นั้นจะมีปุ่มเหล่านี้เพียงปุ่มเดียวหรือสอง ปุ่มเท่านั้นเอง เนื่องจากเราสามารถไปใช้ การตั้งค่าต่างๆ ในส่วนของซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ไดรฟ์ซีดีรอมส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยายกำลังเสียงให้แรงขึ้นหรือที่เรียกว่า amplifier อยู่ด้วยแต่คุณภาพของมันเมื่อใช้ฟังจาก headphones โดยตรงนั้นค่อนข้างต่ำ โดยคุณภาพของเสียงที่ผลิตขึ้นมาจากตัวไดรฟ์ซีดีรอม นั้นจะอยู่ในระดับ digital CD audio quality หากต้องการคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นเช่นเสียงเบสที่หนักแน่น และลึกขึ้น, การปรับ trebleที่สูงขึ้นก็ให้ทำการต่อสายซีดีออดิโอผ่านซาวด์การ์ดไปยังวิทยุระบบ เสียงสเตอริโอภายในบ้านหรือเครื่องเสียงอื่นๆที่มีตัวขยายเสียง หรือ amplifier ซึ่งมีกำลังวัตต์สูงๆ



นาย นครินทร์  มุกดาดวง  ม.5/3 เลขที่ 5

ใบงานที่ 4 HARDDISK.

คอมพิวเตอร์มีส่วนที่สำคัญคือ ส่วนประมวลผล ส่วนรับข้อมูล และก็ส่วนแสดงผล แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาประมวลผลก็ต้องมีข้อมูล ซึ่งข้อมูลนั้นจะต้องถูกนำมาจากที่แห่งหนึ่งนั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า Storage ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคแรกจะเป็นกระดาษที่เป็นรู ซึ่งใช้งานยาก จากนั้นได้พัฒนามาใช้ แผ่นพลาสติกที่เครื่องด้วยสารแม่เหล็ก ที่เรียกว่า Diskette ต่อมาเมื่อข้อมูลมากขึ้นจำนวนการเก็บข้อมูลก็มากขั้นทำให้การเก็บข้อมูลลงบน แผ่น Diskette นั้นไม่เพียงพอ ต่อมาก็ทำการพัฒนามาเป็น Hard Disk ในปัจจุบัน
ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle

ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่ม
Seek Time

เป็นระยะเวลาที่แกนยืดหัวอ่านเขียน Hard Disk เคลื่อนหัวอ่านเขียนไประหว่างแทร็คของข้อมูลบน Hard Disk ซึ่งในปัจจุบัน Hard Disk จะมีแทร็คข้อมูลอยู่ประมาณ 3,000 แทร็คในแต่ละด้านของแพล็ตเตอร์ ขนาด 3.5 นิ้ว ความสามารถในการเคลื่อนที่ จากแทร็คที่อยู่ไปยังข้อมูลในบิตต่อไป อาจเป็นการย้ายตำแหน่งไปเพียง อีกแทร็คเดียวหรืออาจย้ายตำแหน่งไปมากกว่า 2,999 แทร็คก็เป็นได้ Seek time จะวัดโดยใช้หน่วยเวลาเป็น มิลลิเซก (ms) ค่าของ Seek time ของการย้ายตำแหน่งของแขนยึดหัวอ่านเขียน ไปในแทร็คถัดไปในแทร็คที่ อยู่ติดๆกันอาจใช้เวลาเพียง 2 ms ในขณะที่การย้ายตำแหน่งจากแทร็คที่อยู่นอกสุดไปหาแทร็คที่อยู่ในสุด หรือ ตรงกันข้ามจะต้องใช้เวลามากถึงประมาณ 20 ms ส่วน Average seek time จะเป็นค่าระยะเวลาเฉลี่ย ในการย้ายตำแหน่ง ของหัวเขียนอ่านไปมาแบบสุ่ม (Random) ในปัจจุบันค่า Average seek time ของ Hard Disk จะอยู่ ในช่วงตั้งแต่ 8 ถึง 14 ms แม้ว่าค่า seek จะระบุเฉพาะคุณสมบัติในการทำงานเพียง ด้านกว้างและยาวของ แผ่นดิสก์ แต่ค่า Seek time มักจะถูกใช้ในการเปรียบเทียบ คุณสมบัติทางด้านความ เร็วของ Hard Disk ปกติจะเรียกรุ่นของ Hard Disk ตามระดับความเร็ว Seek ค่า Seek time ยังไม่สามารถแสดงให้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ Hard Disk ได้ จะแสดงให้เห็นเพียงแต่การค้นหาข้อมูลในแบบสุ่ม ของตัว Drive เท่านั้น ไม่ได้แสดงในแง่ของ การอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential)

Cylinder Switch Time

เวลาในการสลับ Cylinder สามารถเรียกได้อีกแบบว่าการสลับแทร็ค (track switch) ในกรณีนี้แขนยึดหัวอ่านเขียนจะวางตำแหน่งของหัวอ่านเขียนอยู่เหนือ Cylinder ข้อมูลอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ว่า แทร็คข้อมูลทั้งหมดจะต้องอยู่ใน ตำแหน่งเดียวกันของแพล็ตเตอร์อื่น ๆ ด้วย เวลาในการสลับระหว่าง Cylinder จะวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยที่ตัว ไดร์ฟใช้ในการสลับจาก Cylinder หนึ่งไปยัง Cylinder อื่น ๆ เวลาในการสลับ Cylinder จะวัดด้วยหน่วย ms

Head Switch Time

เป็นเวลาสลับการทำงานของหัวอ่านเขียน แขนยึด หัวอ่านเขียนจะเคลื่อนย้ายหัวอ่านเขียนไปบนแพล็ตเตอร์ที่อยู่ในแนวตรงกัน หัวอ่านเขียนเพียงหัวเดียวทำหน้าที่อ่านหรือบันทึกข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ระยะเวลาในการสลับกันทำงานของหัวอ่านเขียนจะวัดด้วยเวลาเฉลี่ยที่ตัวไดร์ฟ ใช้สลับ ระหว่างหัวอ่านเขียน สองหัวในขณะ อ่านบันทึกข้อมูล เวลาสลับหัวอ่านเขียนจะวัดเป็นหน่วย ms

Rotational Latency

เป็นช่วงเวลาที่คอยการหมุนของแผ่นดิสก์ภายในการหมุนภายใน Hard Disk เกิดขึ้นเมื่อหัวอ่านเขียนวางตำแหน่งอยู่เหนือแทร็คข้อมูลที่เหมาะสม ระบบการทำงานของหัวอ่านเขียนข้อมูลจะรอให้ตัวไดร์ฟ หมุนแพล็ตเตอร์ไปยังเซ็กเตอร์ที่ถูกต้อง ช่วงระยะเวลาที่รอคอยนี้เองที่ถูกเรียกว่า Rotational Latency ซึ่งจะวัดเป็นหน่วย ms แต่ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับ RPM (จำนวนรอบต่อนาที)

การควบคุม Hard Disk

Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน

IDE (Integrated Drive Electronics)

ระบบนี้มีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มีราคาและความเร็วในการขนย้ายข้อมูลต่ำกว่า ตัวควบคุม IDE ปัจจุบันนิยมรวมอยู่ใน
แผงตัวควบคุม




SCSI (Small Computer System Interface)

เป็น Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอื่นที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึ่งๆจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว

Serial ATA (Advanced Technology Attachment)

เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น วันนี้บริษัท Intel Seagate และบริษัทอื่นๆ คอยช่วยกันพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่
Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA
Serial ATA II ของทาง Seagate คาดว่าจะออกวางตลาดภายในปี 2546 และจะทำงานได้กับ Serial ATA 1.0 ทั้งทางด้าน products และ maintain software



การบำรุงรักษา
การ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลใน Hard Disk เสียใหม่เพื่อให้ Hard Disk ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูล ไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือการ Download ข้อมูล Program จาก Internet รวมไปถึงการ Copy ข้อมูลลงไปใน Hard Disk นั้น สิ่งที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ Hard Disk ทำคือ เขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบน Hard Disk ซึ่งการเขียนข้อมูลของ Hard Disk นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของ Drive จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือ Cluster ในการเขียนข้อมูลนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็น Cluster โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ Cluster ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่ อย่างที่ควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Application ต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิด File หลายๆ File พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบ File บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจายออกไป



นาย  นครินทร์  มุกดาดวง ม.5/3 เลขที่ 5

ใบงานที่ 2 คำศัพท์ด้านอินเตอร์เน็ต

ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

AUTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการ สร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อ ใช้สำหรับเผยแพร่ใน www

BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย

BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น

BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera

CLIENTS
คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือ ข่าย

COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

DNS
Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

DOMAIN
กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย

DOWNLOAD
การส่งผ่านข้อมูล เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์ภาพยนตร์, ไฟล์เสียงเพลง จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

DSL
Digital Subscriber Line อุปกรณ์ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างหนึ่ง ผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่เรายังคงใช้โทรศัพท์พร้อมกันได้ด้วย มีอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกันคือ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

EISA
การเชื่อมต่อหรือ อินเตอร์เฟส แบบมาตราฐานของการ์ดต่าง ๆ ปัจจุบันล้าสมัยแล้ว

EMAIL
Electronic Mail จด หมายอิเลคทรอนิกส์ ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่าย

ETHERNET
มาตราฐานของสายเคเบิล และการเดินสาย โดยมีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสารของเครือข่าย โดยมีหน่วยความเร็วเป็น 10 mbps , 100 mbps เป็นต้น

FIREWALL
แปลตรงตัวคือ กำแพงไฟ เป็นได้ทั้งซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา

FTP
File Transfer Protocal มาตราฐานการส่งผ่านข้อมูล จากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งบน เครือข่าย TCP/IP

GATEWAY
คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง

GUEST BOOK
สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง

HOME PAGE
เอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ

HOST
คอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ

HTML
Hypertext Makrup Language ภาษาพื้นฐานสำหรับการสร้าง web ถือได้ว่าเป็นภาษา สากลสำหรับ web page

INTERNET
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระดับโลก

ISDN
Integrated Service Digital Network มาตราฐานการติดต่อความเร็วสูงอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ส่งสัญญาณเสียง วีดีโอ ทางสายดิจิตอล

ISP
Internet Service Provider บริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ได้แก่ KSC, CS-Loxinfo, Internet Thailand เป็นต้น

JAVASCRIP, JAVA APPLET
เป็นภาษา หนึ่งที่ใช้สำหรับการสร้างและตกแต่งเอกสารบน เวิลด์ ไวล์ เว็บ

LAN
Local Area Network ระบบเครือข่าย สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล และทรัพยากรอื่น ๆ ได้ในพื้นที่จำกัด

LOG IN
ขั้นตอนการขออนุญาต เข้าระบบ ปกติจะมี ID และ Password เป็น ตัวควบคุม

MODEM
Modulator/Demodulator อุปกรณ์ สำหรับเชื่อมคอมพิวเตอร์ผ่านทางสายโทรศัพท์ ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลทางกันได้

NEWSGROUPS
กลุ่มสนทนาทางเครือข่าย หรือทางอินเตอร์เน็ต

PCI
Peripheral Component Intercnnect มาตราฐานการเชื่อม หรือ อินเตอร์เฟส แบบใหม่ที่ให้ความเร็วสูงกว่า ISA แล EISA

POP SERVER
Post Office Protocol คือ เซอร์เวอร์ที่ใช้ในการรับส่ง Email

PROTOCOL
มาตราฐานที่ใช้ร่วมกัน ในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกัน

PROXY SERVER
เซอร์ เวอร์หรือโฮสต์ ใช้สำหรับเพิ่มความเร็วในการเล่นเน็ต โดยเก็บข้อมูลใน proxy server ทำให้ผู้ใช้รายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาข้อมูลในต่างประเทศอีก

ROUTER
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลง package ของ เครือข่ายหนึ่งให้เครือข่ายอื่นๆ เข้าใจได้

SCSI
Small Computer System Interface การเชื่อมต่ออุปกรณ์ เพื่อรับ-ส่ง ข้อมูลถึงกัน

SEARCH ENGINE
เครื่อง มือช่วยในการค้นหา web site ต่างๆ บน internet

SERVER
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเก็บข้อมูล

SPAM MAIL
Email ที่ถูกส่งมายังผู้ รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ

TCP/IP
Transmission Control Protocol/Internet Protocal เป็นมาตราฐานอย่างหนึ่งในการสื่อสาร ทางด้าานอินเตอร์เน็ต

TELNET
เครื่องมือในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล

TOKEN RING
มาตรฐานการเชื่อต่อเคเบิล อย่างหนึ่งในระบบเครือข่าย

UPLOAD
วิธีการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ

URL
Unique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ

WAN
Wide Area Network ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่กว่า LAN สามารถติดต่อไปยังเครือข่ายภายนอกได้ทั่วโลก

WEBMASTER
ชื่อตำแหน่งของผู้ที่สร้าง ดูแล จัดการ web ทั้งนี้อาจหมายถึง เข้าของ web ก็ได้

WORLD WIDE WEB
WWW หรือ Web ระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูลภายใน web

ใบงานที่ 3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1.ซ็อคเก็ต (Socket) สำหรับซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู (อังกฤษ: CPU socket) หรือ สล็อตซีพียู (อังกฤษ: CPU slot) คือฐานรองเพื่อบรรจุซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์
 ซ็อกเก็ตแต่ละรุ่นจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูที่ออกแบบมาให้ ใช้งานร่วมกัน ดังนั้นเราจะไม่สามารถนำซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อ
ใช้กับซ็อกเก็ตแบบหนึ่งไปใช้ กับซ็อกเก็ตแบบอื่นได้

2.ชิปเซ็ต (Chip set) ที่สำคัญคือ North Bridge และ South Bridge
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
         1. North Bridge และ South Bridge
         2. Accelerated Hub Architecture

North Bridge และ South Bridge
 ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน
ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI
ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกัน
ได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec

3.ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ (RAM)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า
หล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่ง
และข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำ
หลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่น
ที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุม
จะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงาน
ดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

4.ระบบบัสและสล็อต
ระบบบัส
บัส คือ เส้นการเดินทางของข้อมูล ที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ระบบบัสที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ISA , PCI , AGP และUSB โดยแต่ละระบบก็จะมีความเร็ว
ในการทำงานไม่เท่ากันโดยระบบบัส ISA เป็นระบบที่เก่าแก่ที่สุด และมีการทำงานที่ช้า ที่สุดแต่ก็ยังมีใช้อยู่ ระบบบัสชนิดนี้กำลังเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ เพราะ
อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมต่างๆได้ถูกพัฒนา ให้การทำงานกับระบบบัสแบบ PCI ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าและเป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมมากที่าสุด ในตอนนี้
 ส่วนระบบบัสแบบ AGP จะใช้การ์ดแสดงผลเท่านั้น สำหรับบัสตัวสุดท้ายเป็นระบบใหม่คือ USB ใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น สแกนเนอร์ เมาส์ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

สล็อต (Slot) ของระบบบัสชนิดต่าง ๆ
สล็อต คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดตั้งการ์ดต่าง ๆ เข้ากับเมนบอร์ด หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การติดตั้งการ์ดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง
การ์ดแลน จะต้องติดตั้งบนสล็อตทั้งสิ้น สรุปได้ว่าสล็อตอมีไว้สำหรับต่อกับการ์ดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์สล็อตที่นิยมใช้กัน
อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ISA Slot, PCI Slot และ AGP Slot ในการติดตั้งการ์ดต่าง ๆ ลงบน Slot ก็จะต้องติดตั้งให้ถูกกับชนิดของระบบบัสของการ์ด เช่นถ้าเรา
ซื้อการ์ดเสียงมา ซึ่งเป็นการ์ดที่ใช้ระบบบัสแบบ PCI ก็จะต้องติดตั้งบน Slot แบบ PCI เท่านั้น จะนำไปติดตั้งบน Slot ชนิดอื่นไม่ได้

5.Bios (Basic Input Output System)
ไบออส (Basic Input/Output System: BIOS) คือโปรแกรมที่ปกติจะเก็บเอาไว้ในรอมที่เป็นความจำถาวร หรือกึ่งถาวร
 (EPROM Erasable Programmable Read Only Memory) และเป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกใช้ เป็นโปรแกรมแรกตั้งแต่
เปิดเครื่อง โดยไบออสจะทำหน้าที่ในการตรวจอุปกรณ์ที่ต่อไว้ตามตำแหน่งที่ระบุ และทำการโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์หรือดิสก์เก็ต ไปที่แรมซึ่ง เป็นหน่วยความจำชั่วคราว
 หลังจากนั้นจะทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ จอยสติก
 เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

6.สัญญาณนาฬิกาของระบบ
เป็นส่วนที่คอยกำหนดจังหวะถี่ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ความถี่ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะได้มาจากผลึกควอซท์ที่เรียกว่าแร่คลิสตัล ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความถี่ ความถี่ที่ใช้ป้อนให้แก่
ซีพียูแต่ละรุ่น ก็ได้มาจากส่วนนี้นั่นเอง

7.แบตเตอรี่แบคอัพไบออส
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของ
ระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม
ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอด
เวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่
แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกัน
ของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็น
ได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอม
ไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้า
ระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรด
ข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออ ส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้
ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

8.ขั้วต่อสายไฟแหล่งจ่ายไฟ
เป็นจุดที่ใช้เสียบเข้ากับหัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงขนาด 5 โวลต์(+5 v และ -5 v) 12โวลต์ (+12 v และ -12 v ) และ+ 3.3 โวลต์ ให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่างๆ
ที่ถูกติดตั้งบนเมนบอร์ดขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟในยุคของเมนบอร์ดและ Power Supply ที่ใช้ Form Factor แบบ AT จะใช้เสียบเข้ากับหัวต่อที่เรียกว่า P8 และ P9 มีจำนวน 12 Pin ต่อมาเมื่อมาถึงยุคของ Form Factor
แบบ ATX จึงได้เปลี่ยนไปใช้หัวต่อและขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟแบบ ATX Power Connector มีจำนวน 20 Pin สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆที่สับสนุนเทคโนโลยีต่างๆอย่าง ซ็อคเก็ต LGA775 ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA

ระบบบัสแบบ PCI-Express หน่วยความจำ DDR II เทคโนโลยี SLI หรือ CrossFire และอื่นๆ จะมี Pin เพิ่มขึ้นมาอีก 4 Pin คือ +12v +5v +3.3v และ Ground รวมทั้งสิ้น 24 Pin

9.ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
เป็นส่วนที่ใช้สั่งการทำงานภายนอกตัวเครื่องคอมฯรวมถึงเป็นการแสดงสีสันหน้า ตาที่โดดเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็ว่าได้ เพราะในชุดขั้วต่อหรือปุ่มสวิทซ์หน้าปัดเครื่องนั้นจะมี Power LED
 ซึ่งเป็นชุดไฟแสดงสถานะการทำงาน ของ Power Supply Turbo LED เป็นส่วนที่แสดงสถานะว่าขณะนี้ได้ใช้ความเร็วสูงที่สุดของเครื่อง HDD. LED เป็นไฟสถานะบอกว่า HDD กำลังอ่าน/เขียนข้อมูลอยู่
 ซึ่งกรณีของ HDD. LED นี้จะกระพริบตามจังหวัดการอ่าน/เขียนของ HDDส่วนในด้านของปุ่มสวิทซ์ก็จะมี Power Switch ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดแบบ AT ก็จะเป็นการเปิดปิดไฟกระแสสลับ 220 V. แต่ถ้าเป็น
เมนบอร์ด ATX ก็จะเป็นการสั่งงานผ่านทางเมนบอร์ดเพื่อเปิด Power Supply ให้ทำงาน ส่วนสวิทซ์อีกตัวหนึ่งก็คือ Reset Switch นั้นจะมีหน้าที่ในการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มการทำงานใหม่อีกครั้ง (Boot)

10.จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดถือว่าเป็นส่วนที่มี Jumper ให้เซ็ตติดตั้งอยู่มากพอสมควร เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ พยายามจะลดความยุ่งยากในส่วนนี้จึงพยายามทำ เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Jumper Less" คือมี Jumper ให้น้อยที่สุดหรือ ไม่มีเลย
แล้วย้ายการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไปเป็นส่วน Software หรือบน Bios ที่เรียกว่า "Soft Menu" เพื่อให้ผู้ใช้งานยังคงสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ จากเดิมที่รูปร่างหน้าตาของ Jumper เป็นขาทองแดงแล้วใช้พลาสติกเล็ก ๆ ซึ่งข้าง
ในมีแผ่นโลหะเป็นตัวเชื่อม เมนบอร์ดบางรุ่นก็เปลี่ยนมาเป็น Dip Switch ที่ปรับแต่งได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า และดูไม่น่ากลัวแทน วิธีการเซ็ต Jumper ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมขาทองแดงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัย ตัวเชื่อม
ที่เป็นลักษณะพลาสติกตัวเล็ก ๆ ที่ข้างในจะเป็นทองแดงเป็นสื่อให้ขา ทองแดงทั้งสองเชื่อมถึงกัน และพลาสติกรอบข้างทำหน้าที่เป็นชนวนป้องกัน ไม่ให้ทองแดงไปโดนขาอื่น ๆ


11.ขั้วต่อ IDE (Integrated Drive Electronics) สำหรับฮาร์ดดิสก์
Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ
Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB

12.ขั้วต่อ Floppy disk drive
 เป็นขั้วต่อบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา โดยมากมักจะอยู่ใกล้กันกับขั้วต่อ IDE และมีอยู่เพียงพอร์ตเดียวบนเมนบอร์ด ซึ่งใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้มากสุด 2 ตัว โดยใช้สายแพแบบ 34 เส้น
ทีมีหัวต่อ 3 ชุดอยู่บนสายแพ หัวต่อ 1 ชุดที่อยู่ห่างออกไป จะใช้เชื่อม FDD/FDC Controller บนเมนบอร์ด ส่วนหัวต่ออีก 2 ชุดที่เหลือซึ่งอยู่ใกล้กัน จะใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้พร้อมกัน 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสอง
จะถูกแยกสถานการณ์ทำงานกันด้วยการพลิกไขว้สายแพกลุ่มหนึ่ง ไว้ ทำให้หัวต่อปลายสุดเป็นไดรว์ A: เสมอ ส่วนหัวต่อที่เหลือตรงกลางสายจะเป็นไดรว์ B: (เว้นแต่จะกำหนดไว้ใน BIOS ให้สลับกัน) อุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ทั่วไป
จะมีขนาด 3.5 นิ้ว และ แผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้จะมีความจุ 1.44 MB ส่วนคุณสมบัติต่างๆนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลยไม่ว่ายี่ห้อใด

13.พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
ในอดีตบนเมนบอร์ดทั่วไปมักจะมีพอร์ตอนุกรมมาให้ 1-2 พอร์ต (COM1/COM) กับพอร์ตขนาน (Parallel) อีก 1 พอร์ต แต่ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังมีอยู่ โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนไป
ใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น หรือถ้ามีมาให้ก็มักจะอยู่ในรูปแบบของพอร์ตเสริมที่ต้องเสียบหัวต่อลงบนขั้ว ต่อ COM1 หรือ COM2 บนเมนบอร์ดเอง แล้วขันน็อตยึดให้พอร์ตนี้ติดอยู่กับด้านหลังของตาเคส

สำหรับพอร์ตอนุกรม (Serial Port) และพอร์ตขนาน (Parallel Port) นี้ จะมีรูร่างคล้ายตัวอักษร D จึงมักถูกเรียกว่าเป็นชนิด D-type โดยพอร์ตอนุกรมที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวผู้ (มีขา) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 9 ขา ส่วนพอร์ตขนานที่อยู่บนเมนบอร์ด
จะเป็นตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) มีจำนวนรูทั้งหมด 15 รู

14.พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์ PS/2

เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย ทีอยู่บนเมนบอร์ดมีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6 รู โดยพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คีย์บอร์ดจะเป็นพอร์ต PS/2 (สีม่วง) ส่วนอุปกรณ์เมาส์จะเป็น
พอร์ต PS/2 (สีเขียว) ซึ่งทั้ง 2 พอร์ตจะถูกติดตั้งอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้าหากเสียบผิดหรือเสียบสลับกันจะทำให้อุปกรณ์ตัวนั้นๆไม่ทำงาน ปัจจุบันทั้งอุปกรณ์คีย์บอร์ดและเมาส์จะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้เชื่อมต่อ เข้ากับพอร์ต PS/2
และ USB ดังนั้นเวลาซื้อหามาใช้งานก็ควรเลือกให้ตรงกับพอร์ตที่จะใช้ด้วย ซึ่งเมาส์บางรุ่นเท่านั้นที่มีใช้ตัวแปลงสัญญาณ (Adapter) เพื่อให้ใช้ได้ทั้งกับ USB และ PS/2

15.พอร์ต USB
พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบ
มาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ต
แบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
• คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
• เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
• พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
• สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
• เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
• การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่

นาย นครินทร์  มุกดาดวง  ม.5/3 เลขที่ 5