วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1.ซ็อคเก็ต (Socket) สำหรับซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู (อังกฤษ: CPU socket) หรือ สล็อตซีพียู (อังกฤษ: CPU slot) คือฐานรองเพื่อบรรจุซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์
 ซ็อกเก็ตแต่ละรุ่นจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูที่ออกแบบมาให้ ใช้งานร่วมกัน ดังนั้นเราจะไม่สามารถนำซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อ
ใช้กับซ็อกเก็ตแบบหนึ่งไปใช้ กับซ็อกเก็ตแบบอื่นได้

2.ชิปเซ็ต (Chip set) ที่สำคัญคือ North Bridge และ South Bridge
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
         1. North Bridge และ South Bridge
         2. Accelerated Hub Architecture

North Bridge และ South Bridge
 ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน
ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI
ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกัน
ได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec

3.ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ (RAM)
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า
หล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่ง
และข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำ
หลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่น
ที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุม
จะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงาน
ดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

4.ระบบบัสและสล็อต
ระบบบัส
บัส คือ เส้นการเดินทางของข้อมูล ที่เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ระบบบัสที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ ISA , PCI , AGP และUSB โดยแต่ละระบบก็จะมีความเร็ว
ในการทำงานไม่เท่ากันโดยระบบบัส ISA เป็นระบบที่เก่าแก่ที่สุด และมีการทำงานที่ช้า ที่สุดแต่ก็ยังมีใช้อยู่ ระบบบัสชนิดนี้กำลังเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ เพราะ
อุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมต่างๆได้ถูกพัฒนา ให้การทำงานกับระบบบัสแบบ PCI ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าและเป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมมากที่าสุด ในตอนนี้
 ส่วนระบบบัสแบบ AGP จะใช้การ์ดแสดงผลเท่านั้น สำหรับบัสตัวสุดท้ายเป็นระบบใหม่คือ USB ใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น สแกนเนอร์ เมาส์ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

สล็อต (Slot) ของระบบบัสชนิดต่าง ๆ
สล็อต คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดตั้งการ์ดต่าง ๆ เข้ากับเมนบอร์ด หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การติดตั้งการ์ดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง
การ์ดแลน จะต้องติดตั้งบนสล็อตทั้งสิ้น สรุปได้ว่าสล็อตอมีไว้สำหรับต่อกับการ์ดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์สล็อตที่นิยมใช้กัน
อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ISA Slot, PCI Slot และ AGP Slot ในการติดตั้งการ์ดต่าง ๆ ลงบน Slot ก็จะต้องติดตั้งให้ถูกกับชนิดของระบบบัสของการ์ด เช่นถ้าเรา
ซื้อการ์ดเสียงมา ซึ่งเป็นการ์ดที่ใช้ระบบบัสแบบ PCI ก็จะต้องติดตั้งบน Slot แบบ PCI เท่านั้น จะนำไปติดตั้งบน Slot ชนิดอื่นไม่ได้

5.Bios (Basic Input Output System)
ไบออส (Basic Input/Output System: BIOS) คือโปรแกรมที่ปกติจะเก็บเอาไว้ในรอมที่เป็นความจำถาวร หรือกึ่งถาวร
 (EPROM Erasable Programmable Read Only Memory) และเป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกใช้ เป็นโปรแกรมแรกตั้งแต่
เปิดเครื่อง โดยไบออสจะทำหน้าที่ในการตรวจอุปกรณ์ที่ต่อไว้ตามตำแหน่งที่ระบุ และทำการโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์หรือดิสก์เก็ต ไปที่แรมซึ่ง เป็นหน่วยความจำชั่วคราว
 หลังจากนั้นจะทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อหน่วยรับข้อมูล และหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ จอยสติก
 เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

6.สัญญาณนาฬิกาของระบบ
เป็นส่วนที่คอยกำหนดจังหวะถี่ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ความถี่ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะได้มาจากผลึกควอซท์ที่เรียกว่าแร่คลิสตัล ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความถี่ ความถี่ที่ใช้ป้อนให้แก่
ซีพียูแต่ละรุ่น ก็ได้มาจากส่วนนี้นั่นเอง

7.แบตเตอรี่แบคอัพไบออส
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของ
ระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของ
ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม
ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอด
เวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่
แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกัน
ของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็น
ได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอม
ไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้า
ระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรด
ข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออ ส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้
ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

8.ขั้วต่อสายไฟแหล่งจ่ายไฟ
เป็นจุดที่ใช้เสียบเข้ากับหัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงขนาด 5 โวลต์(+5 v และ -5 v) 12โวลต์ (+12 v และ -12 v ) และ+ 3.3 โวลต์ ให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่างๆ
ที่ถูกติดตั้งบนเมนบอร์ดขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟในยุคของเมนบอร์ดและ Power Supply ที่ใช้ Form Factor แบบ AT จะใช้เสียบเข้ากับหัวต่อที่เรียกว่า P8 และ P9 มีจำนวน 12 Pin ต่อมาเมื่อมาถึงยุคของ Form Factor
แบบ ATX จึงได้เปลี่ยนไปใช้หัวต่อและขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟแบบ ATX Power Connector มีจำนวน 20 Pin สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆที่สับสนุนเทคโนโลยีต่างๆอย่าง ซ็อคเก็ต LGA775 ฮาร์ดดิสก์ Serial ATA

ระบบบัสแบบ PCI-Express หน่วยความจำ DDR II เทคโนโลยี SLI หรือ CrossFire และอื่นๆ จะมี Pin เพิ่มขึ้นมาอีก 4 Pin คือ +12v +5v +3.3v และ Ground รวมทั้งสิ้น 24 Pin

9.ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
เป็นส่วนที่ใช้สั่งการทำงานภายนอกตัวเครื่องคอมฯรวมถึงเป็นการแสดงสีสันหน้า ตาที่โดดเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็ว่าได้ เพราะในชุดขั้วต่อหรือปุ่มสวิทซ์หน้าปัดเครื่องนั้นจะมี Power LED
 ซึ่งเป็นชุดไฟแสดงสถานะการทำงาน ของ Power Supply Turbo LED เป็นส่วนที่แสดงสถานะว่าขณะนี้ได้ใช้ความเร็วสูงที่สุดของเครื่อง HDD. LED เป็นไฟสถานะบอกว่า HDD กำลังอ่าน/เขียนข้อมูลอยู่
 ซึ่งกรณีของ HDD. LED นี้จะกระพริบตามจังหวัดการอ่าน/เขียนของ HDDส่วนในด้านของปุ่มสวิทซ์ก็จะมี Power Switch ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดแบบ AT ก็จะเป็นการเปิดปิดไฟกระแสสลับ 220 V. แต่ถ้าเป็น
เมนบอร์ด ATX ก็จะเป็นการสั่งงานผ่านทางเมนบอร์ดเพื่อเปิด Power Supply ให้ทำงาน ส่วนสวิทซ์อีกตัวหนึ่งก็คือ Reset Switch นั้นจะมีหน้าที่ในการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มการทำงานใหม่อีกครั้ง (Boot)

10.จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดถือว่าเป็นส่วนที่มี Jumper ให้เซ็ตติดตั้งอยู่มากพอสมควร เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ พยายามจะลดความยุ่งยากในส่วนนี้จึงพยายามทำ เทคโนโลยีที่เรียกว่า "Jumper Less" คือมี Jumper ให้น้อยที่สุดหรือ ไม่มีเลย
แล้วย้ายการเซ็ตค่าต่าง ๆ ไปเป็นส่วน Software หรือบน Bios ที่เรียกว่า "Soft Menu" เพื่อให้ผู้ใช้งานยังคงสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ จากเดิมที่รูปร่างหน้าตาของ Jumper เป็นขาทองแดงแล้วใช้พลาสติกเล็ก ๆ ซึ่งข้าง
ในมีแผ่นโลหะเป็นตัวเชื่อม เมนบอร์ดบางรุ่นก็เปลี่ยนมาเป็น Dip Switch ที่ปรับแต่งได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า และดูไม่น่ากลัวแทน วิธีการเซ็ต Jumper ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมขาทองแดงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัย ตัวเชื่อม
ที่เป็นลักษณะพลาสติกตัวเล็ก ๆ ที่ข้างในจะเป็นทองแดงเป็นสื่อให้ขา ทองแดงทั้งสองเชื่อมถึงกัน และพลาสติกรอบข้างทำหน้าที่เป็นชนวนป้องกัน ไม่ให้ทองแดงไปโดนขาอื่น ๆ


11.ขั้วต่อ IDE (Integrated Drive Electronics) สำหรับฮาร์ดดิสก์
Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ
Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB

12.ขั้วต่อ Floppy disk drive
 เป็นขั้วต่อบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา โดยมากมักจะอยู่ใกล้กันกับขั้วต่อ IDE และมีอยู่เพียงพอร์ตเดียวบนเมนบอร์ด ซึ่งใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้มากสุด 2 ตัว โดยใช้สายแพแบบ 34 เส้น
ทีมีหัวต่อ 3 ชุดอยู่บนสายแพ หัวต่อ 1 ชุดที่อยู่ห่างออกไป จะใช้เชื่อม FDD/FDC Controller บนเมนบอร์ด ส่วนหัวต่ออีก 2 ชุดที่เหลือซึ่งอยู่ใกล้กัน จะใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้พร้อมกัน 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสอง
จะถูกแยกสถานการณ์ทำงานกันด้วยการพลิกไขว้สายแพกลุ่มหนึ่ง ไว้ ทำให้หัวต่อปลายสุดเป็นไดรว์ A: เสมอ ส่วนหัวต่อที่เหลือตรงกลางสายจะเป็นไดรว์ B: (เว้นแต่จะกำหนดไว้ใน BIOS ให้สลับกัน) อุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ทั่วไป
จะมีขนาด 3.5 นิ้ว และ แผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้จะมีความจุ 1.44 MB ส่วนคุณสมบัติต่างๆนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลยไม่ว่ายี่ห้อใด

13.พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
ในอดีตบนเมนบอร์ดทั่วไปมักจะมีพอร์ตอนุกรมมาให้ 1-2 พอร์ต (COM1/COM) กับพอร์ตขนาน (Parallel) อีก 1 พอร์ต แต่ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังมีอยู่ โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนไป
ใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น หรือถ้ามีมาให้ก็มักจะอยู่ในรูปแบบของพอร์ตเสริมที่ต้องเสียบหัวต่อลงบนขั้ว ต่อ COM1 หรือ COM2 บนเมนบอร์ดเอง แล้วขันน็อตยึดให้พอร์ตนี้ติดอยู่กับด้านหลังของตาเคส

สำหรับพอร์ตอนุกรม (Serial Port) และพอร์ตขนาน (Parallel Port) นี้ จะมีรูร่างคล้ายตัวอักษร D จึงมักถูกเรียกว่าเป็นชนิด D-type โดยพอร์ตอนุกรมที่อยู่บนเมนบอร์ดจะเป็นตัวผู้ (มีขา) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 9 ขา ส่วนพอร์ตขนานที่อยู่บนเมนบอร์ด
จะเป็นตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) มีจำนวนรูทั้งหมด 15 รู

14.พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์ PS/2

เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย ทีอยู่บนเมนบอร์ดมีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6 รู โดยพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คีย์บอร์ดจะเป็นพอร์ต PS/2 (สีม่วง) ส่วนอุปกรณ์เมาส์จะเป็น
พอร์ต PS/2 (สีเขียว) ซึ่งทั้ง 2 พอร์ตจะถูกติดตั้งอยู่ใกล้ชิดกัน ถ้าหากเสียบผิดหรือเสียบสลับกันจะทำให้อุปกรณ์ตัวนั้นๆไม่ทำงาน ปัจจุบันทั้งอุปกรณ์คีย์บอร์ดและเมาส์จะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้เชื่อมต่อ เข้ากับพอร์ต PS/2
และ USB ดังนั้นเวลาซื้อหามาใช้งานก็ควรเลือกให้ตรงกับพอร์ตที่จะใช้ด้วย ซึ่งเมาส์บางรุ่นเท่านั้นที่มีใช้ตัวแปลงสัญญาณ (Adapter) เพื่อให้ใช้ได้ทั้งกับ USB และ PS/2

15.พอร์ต USB
พอร์ตยูเอสบี เป็นพอร์ตแบบใหม่ล่าสุด ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า พอร์ตแบบนี้ถูกออกแบบ
มาให้ใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์บนวินโดวส์ 98 ปัจจุบัน มีฮาร์ดแวร์จำนวนมากที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ เช่น กล้องดิจิตอล เมาส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก สแกนเนอร์ ซีดีอาร์ดับบลิว เป็นต้น สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ จะมีพอร์ต
แบบนี้จะมีพอร์ตแบบนี้อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
• คอมพิวเตอร์ปกติจะมี 2 USB Port ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่ไม่มี USB สามารถหาซื้อการ์ด USB มาติดตั้งได้
• เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมา 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
• พอร์ตชนิดใหม่รับส่งความเร็วได้สูงกว่า port ทั่ว ๆ ไป
• สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อเนื่องได้ 127 ตัว
• เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
• การติดตั้ง เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับ USB port ก็สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้อง boot เครื่องใหม่

นาย นครินทร์  มุกดาดวง  ม.5/3 เลขที่ 5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น